บริการลูกค้า
น้องจริงใจ
06.25
น้องจริงใจ
สวัสดีครับ...วันนี้มีอะไรให้น้องจริงใจช่วยครับ สอบถามมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้ครับ
06.25
หลักชะรีอะฮ์

 

กฎหมาย

และหลักชะรีอะห์ในสหกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              สหกรณ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการช่วยเหลือตนเอง ความรับผิดชอบต่อตนเอง ความเป็นประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความเป็นเอกภาพ และในขณะเดียวกัน สมาชิกสหกรณ์ก็มีความเชื่อมั่นในความสุจริต ความเปิดเผย ความรับผิดชอบต่อสังคม และความเอื้ออาทรต่อกัน 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์

•    พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒
•     ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
•     ประมวลกฎหมายที่ดิน
•     ประมวลรัษฎากร
•     พระราชบัญญัติการฟอกเงิน
•    กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

หลักชะรีอะห์(Shariah) หรือกฎหมายอิสลาม

    หลักชะรีอะห์(Shariah) หรือกฎหมายอิสลาม หมายถึง กฎหมาย คำสั่ง และการดำเนินชีวิตที่ได้ถูกบัญญัติไว้แก่มนุษยชาติ นอกจากนี้ชะรีอะห์ยังรวมถึง คำสั่ง การห้าม การให้แนวทาง และหลักการซึ่งศาสนาได้กำหนดเกี่ยวกับข้อปฏิบัติต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วน ครอบคลุม
    ดังนั้นองค์ประกอบของระบบการเงินอิสลาม (Islamic Finance) ในด้านต่างๆ จะมีพื้นฐานมาจากกฎหมายอิสลามหรือชะรีอะห์ เพื่อการดำเนินธุรกิจหรือธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจะให้เป็นไปตามหลักการของศาสนาอิสลาม
 

เครื่องมือทางการเงินตามหลักชะรีอะห์ที่นำมาใช้

มุฎอเราะบะห์ (Mudarabah: การร่วมลงทุน)
    การทำสัญญาตามหลักมุฎอเราะบะฮ์ (Mudarabah) หมายถึง การทำสัญญาการร่วมทำธุรกิจหรือร่วมลงทุนระหว่าง  2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) ให้ทุนแก่อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อนำเงินทุนไปบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจที่ไม่ขัดหลักศาสนาอิสลามหรือหลักชะรีอะห์ โดยมีข้อตกลงในการแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) เช่น 50:50  60:40 70:30 หรือ 80 : 20 เป็นต้น ในกรณีที่ขาดทุนเจ้าของทรัพย์หรือเงินทุนต้องยอมรับการขาดทุนในส่วนของเงินทุนฝ่ายเดียว ขณะที่ผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบหรือขาดทุนในส่วนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารจัดการและเสียต้นทุนของเวลาและแรงที่ลงทุนไปในการบริหารจัดการ 

วะดีอะห์ ยัด เดาะมานะฮ์ (Wadiah Yad Damanah) 
    เป็นรูปแบบการฝากเงิน ที่ผู้ฝากอนุญาตให้สหกรณ์ฯ ในฐานะผู้รับฝากสามารถนำไปลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามได้ โดยที่ผู้รับฝากจะคืนเงินฝากเมื่อผู้ฝากทวงถาม โดยการฝากวะดีอะห์รูปแบบนี้จะมีการรับประกันเงินฝากทั้งจำนวน แต่จะไม่มีการกำหนดผลตอบแทนเป็นส่วนหนึ่งในสัญญา เพราะจะถือว่าเป็นริบาหรือดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามผู้รับฝากสามารถที่จะให้ของขวัญ หรือสินน้ำใจ ที่เรียกว่า ฮิบะห์  แก่ผู้ฝากชนิดนี้ได้ตามการพิจารณาของผู้รับฝาก เนื่องจากผู้ฝากอนุญาตให้นำเงินฝากไปลงทุนได้ 
 

ก็อรดุลหะซัน
    เป็นสินเชื่อเงินยืมระยะสั้น(ไม่มีการคิดค่าบริการ) ใช้ในเหตุฉุกเฉิน และจำเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของสมาชิก เช่น เพื่อค่ารักษาพยาบาล เพื่อการศึกษา/ค่าเล่าเรียน เป็นต้น
 

หลักการซื้อขายมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah)
    เป็นการขายบนต้นทุนบวกกำไร (Cost plus Profit) โดยมีการเปิดเผยต้นทุนกับกำไรให้สมาชิกทราบ การซื้อขายตามหลักมุรอบาฮะฮ์(Murabahah) จึงเป็นการซื้อขายที่ยุติธรรม เพราะมีการบอกต้นทุนและกำไรที่ชัดเจนในการซื้อขาย หรืออาจเขียนเป็นสูตรได้ว่า  ราคาขาย = ราคาต้นทุน + กำไรที่ต้องการ
 

อัลอิญาเราะฮฺ 
    คือ การเช่าหรือการจ้าง การขายผลประโยชน์ หรือขายบริการด้วยราคาที่กําหนด
    “ผลประโยชน์” คือ ประโยชน์ที่สามารถใช้ได้จากสิ่งของหรือทรัพย์สิน 
    “การขายบริการ” คือ การขายแรงงานทั้งที่ใช้แรงงาน การบริการ พลังความคิด ทักษะ ความสามารถ     และอื่นๆ ที่สามารถมาคิดค่าจ้างได้
 

อิสติสนาอฺ 
    หมายถึง การซื้อขายสิ่งที่สั่งให้ทํา หรือสั่งให้    ผลิตออกมา (การจ้างทําของ) โดยคู่สัญญามี    ข้อกําหนด รายละเอียดประเภทของที่สั่งผลิตหรือสั่งทํา ระบุชนิด ลักษณะ ปริมาณ หรือจํานวนที่แน่นอนชัดเจนไม่มีข้อคลุมเครือ
 

วะกาละฮ์ (การเป็นตัวแทน) 
    คือ สัญญาซึ่งมอบอำนาจให้กับบุคคลหนึ่ง เพื่อกระทำการแทนตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ตกลงกัน